#ความฝันอันสูงสุดของผู้ประกอบการอย่างเราคือได้เห็นลูกค้าที่ได้ใช้สินค้าของ แบรนด์เกณิกาเฮิร์บ เราแล้วได้รับผบลัพธ์สุดเต็มกำลัง นี่คือ❤️ความตั้งใจ ❤️และความหวัง ❤️ก่อนที่จะมาประกอบอาชีพนี้


#ในกรณีที่คุณมีผมร่วงมานานสะสม ให้ติดต่อ คุณ เกณิกา โดยตรง เพื่อใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร

ในราคาแบบเหมาจ่ายจะ คุ้มค่า มากกว่า สำหรับตัวท่านเอง เรามาทำงานด้านนี้ เพราะใจรัก และต้องการจะสานงานด้านสมุนไพรไทยให้ก้าวไกลไปอีกระดับถึงขั้น แก้อาการผมร่วงได้จริง❤️ และก็ทำได้สำเร็จมาแล้ว

เราจริงจังที่จะแก้ไขงานด้านนี้ และนี่คือสิ่งที่เราต้องการจะทำด้วยใจ  ❤️รัก ❤️ล้วนๆ❤️❤️❤️


                                                                       สบายดี-การเกิดโรค


นับเป็นความปราถนาของมนุษย์ที่จะดำรงชีวิตด้วยความสุข หรือที่เราเข้าใจกันง่ายๆ คือ ความสบายดี เป็นภาวะที่ทั้งร่างกายและจิตใจดำเนินไปแบบสบายๆ โปร่ง เบา ไม่เครียด ตั้งมั่นอยู่กับตน  ทั้งนี้เป็นผลที่เกิดจากการมีสมดุลภายในตัวเองและกับสิ่งแวดล้อมภายนอก  สมดุลของสิ่งแวดล้อมภายในแต่ละเซลล์เอง กับเซลล์อื่นๆ ของเซลล์ภายในอวัยวะกับอวัยวะ ทั้งหมดมีความสำคัญ และจำเป็นให้เกิดความสบายดี-สุขภาพ การจะเป็นดังนี้ได้  อยู่ที่เราบำรุงรักษาหล่อเลี้ยงชีวิต หรือเจ้าเรือน ลงไปถึงระดับโมเลกุลภายในเซลล์  หากดูแลไม่ดีก็จะเสียสมดุล นำไปสู่การเกิดโรค ซึ่งกล่าวไว้ว่าเป็นปัญหาของเจ้าเรือนนั่นเอง การเสียสมดุลภาพในเจ้าเรือนเมื่อลงลึกถึงระดับเซลล์และโมเลกุลแล้ว ก็มีสาเหตุมาจากอนุมูลอิสระเกิดความเสียหายจากออกซิเดชั่น (ออกซิเดตีฟ สเตรส oxidative stress)อันมีผลพวงตามมาเป็นการเสื่อมสภาพและโรคต่างๆ


ในขณะที่เรารู้สึกสบายดีนั้น มิใด้หมายความว่าเราปราศจากโรค เพราะอาจมีโรคซ่อนอยู่ ยังไม่ทำให้เกิดอาการโรคหลายชนิด เช่น มะเร็ง โรคหลอดเลือดแข็ง ส่วนใหญ่จะไม่มีทางรู้หรือตรวจพบในระยะแรกด้วยวิธีการแพทย์ปัจจุบันที่ใช้กันเป็นประจำอยู่ การตรวจพบจะต้องลงลึกไปกว่านั้นเช่น หาร่องรอยหรือแนวโน้มที่จะเอื้ออำนวยให้เกิดออกซิเดชั่นที่จะชี้นำว่าความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆ ได้ ที่สำคัญควรคำนึงว่าอาจมีโรคซ่อนอยู่ ทางที่ดีคือการป้องกันนั่นเอง

กล่าวได้ว่า ถึงไม่มีโรคปรากฏแต่ขบวนการเกิดและดำเนินของโรคอาจซ่อนอยู่ได้ อย่างไรเสียก็ควรป้องกันอยู่ดี ป้องกันโดยรักษาสถานภาพสมดุลของ "เจ้าเรือน"


                                                                                                         สุขภาพคือการป้องกันโรค


หากเรายกเอาคำจำกัดความของสุขภาพออกไปก่อน แล้วมาดูว่าสิ่งที่มนุษย์ต้องการในการดำรงชีวิตมากที่สุดคืออะไร จะพบว่าเราอยากจะให้ร่างกายของเราทำหน้าที่ดีที่สุด ทำกิจกรรมการงานที่พึงกระทำได้ ไม่เจ็บปวดอ่อนล้าเหนื่อย  มีความคิด ความจำดี มีความสุขสดใสและแข็งแรงทนสภาพได้ดีพอควร กินได้ นอนหลับ ขับถ่ายดี และดำรงชีวิตในสังคมได้ดี ในภาพรวมคือ มีความสุขในการเป็นอยู่แต่ละวัน "สบายดี"(wellness) ทั้งหมดนี้น่าจะเป็นคุณภาพของ "การมีสุขภาพ" ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเข้าได้กับคำจำกัดความของสุขภาพที่นิยมใช้กันมานาน กล่าวคือ "สภาวะสมบูรณ์พร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม มิได้หมายความแต่เพียงปราศจากโรคและความเจ็บป่วยเท่านั้น"


 

"ความเสื่อมสภาพที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆนั้นเกิดจากการเสียสมดุลที่สำสำคัญมาจากการขาดสารอาหารและ พฤติกรรมการดำเนินชีวิตไม่ถูกต้องมากกว่าความชราหรือการใช้งานมาก"


                                                                                                          แอนติออกซิแดนท์-สารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันเราได้ใน4ระดับคือ                            หน้าที่81จากหนังสือ รู้สู้โรค




1.สารแอนติออกซิแดนท์ ป้องกันการก่อเกิดของอนุมูลอิสระหรือออกซิแดนท์(oxidants)และป้องกันโลหะบางชนิด (เช่น ทองแดง แคดเมียม ปรอท และตะกั่วที่เข้าสู่ร่างกาย) ไม่ให้เริ่มปฏิกิริยา ออกซิเดชัน เปรียบเหมือนเหล็กเมื่อถูกออกซิเจนจะเกิดสนิมร่างกายเมื่อถูกออกซิแดนท์ก็คล้ายเป็นสนิมเช่นกัน-ร่างกายเสื่อมาภาพอ่อนแอ ระบบภูมิคุ้มกันลดประสิทธิภาพลง เปิดโอกาศให้เกิกโรคจากการเสื่อมสภาพ (degenaretive diseases)ต่างๆ


2. ระบบการป้องกันโดยแอนติออกซิแดนท์จะไปยับยั้งไม่ให้ออกซิแดนท์ตัวอื่นๆ เกิดขึ้นมาอีก เมื่อหยุดยั้งตัวแรกๆได้ ก็จะหยุดยั้งตัวอื่นๆ อีก เป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ ไม่ให้เกิดขึ้นมา  เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ก็ยากที่จะแก้ไขปฏิกิริยาลูกโซ่นี้


3. สารแอนติออกซแดนท์ จะไปยับยั้งความเสียหายที่เกิดจากออกซิแดนท์ที่ยังไม่ถูกยับยั้ง ร่างกายของเรามีความสามารถที่จะขจัดออกซิแดนท์ที่มีอันตรายออกจากระบบของร่างกายหากยังมีพิษหลงเหลืออยู่ก็ขจัดออกให้หมด ทั้งนี้ เราต้องการปริมาณ(ได้รับ)แอนติออกซิแดนท์เพียงพอ


4.สารแอนติออกซิแดนท์จะขจัดและทดแทนโมเลกุลที่ได้รับความเสียหายเกินกว่าจะซ่อมแซมหรือสารไม่ดีที่เกิดจากมันออกไป สารแอนติออกซิแดนท์ นอกจากต่อสู้ป้องกันจากโรคต่างๆ ที่อาจเกิดและรูปแบบต่างๆของการทำลายในร่างกายแล้ว มันยังเหมือนทำความสะอาดสนามรบอีกด้วย


โดยสรุป หน้าที่ของสารต้านอนุมูลอิสระ คือ " ป้องกัน ยับยั้ง ขจัด และซ่อมแซม"เป็นปฏิกิริเกิดที่ระดับโมเลกุลและเซลล์

                   


ชนิดของสารต้านอนุมูลอิสระ


สารต้านอนุมูลอิสระ คือ (สาร) อะไรก็ได้ที่ไปทำลายอนุมูลอิสระภายในร่างกาย เป็นสารกลุ่มใหญ่หลายชนิดด้วยกัน และพบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆมีทั้งสารอาหารจากแหล่งต่างๆ ผัก ผลไม้ แร่ วิตามิน เครื่องเทศ-สมุนไพร เอมไซม์ กรดอะมิโน ฮอร์โมน ฯลฯสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญที่สุด3ตัว คือ วิตามิน ซี อี และ เบตา-แคโรทีน แอนติออกซแดนท์อาจแบ่งออกได้เป็น2กลุ่ม คือ ที่ร่างกายผลิตขึ้นเองและได้รับจากอาหาร-อาหารเสริม เนื่องจากเป็นกลุ่มใหญ่ จึงแยกเป็นหมวดหมู่ตามประเภทของสาร นั้นๆ ดังนี้


1. วิตามิน (vitamins)


2.กรดอะมิโน(amino acids)


3.แร่ธาตุ (minerals)


4.ไบโอฟลาโวนอยด์(bioflavonoids)


5.แคโรทีนอย์ (carotenoids)


6.เอนไซม์(enzymes)


7.เครื่องเทศ-สมุนไพร (spices-herbs)


วิตามินเอ


วิตามินเอ เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำมัน วิตามินเอมีความจำเป็นในการรักษาความชุ่มชื้นของเนื้อเยื่อ:เยื่อบุผิวหนัง ผม และตา เมื่อร่างกายขาดวิตามินเอ อาการแสดงแรกที่ปรากฏคือ ความแห้ง เกิดขึ้นที่เนื้อเยื่อเหล่านี้ และยังอาจทำให้เกิดการติดเชื้อตามมา เช่นเกิดสิว ไซนัสอักเสบ นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย และน้ำหนักลด วิตามินเอมีความสำในการเสริมสร้างกระดูกและฟัน ช่วยในการเก็บไขมัน โปรตีนไม่สามารถนำไปใช้ได้(metabolize) หากขาดวิตามินเอ วิตามินเอช่วยในการมองเห็นในตอนกลางคืนดีขึ้น ส่งเสริมให้สายตาปกติ และความชุ่มชื้นให้ดวงตา


คุณประโยชน์ของวิตามินเอ


ด้วยคุณสมบัติที่เป็นแอนติออกซิแดนท์ วิตามินเอ ทำหน้าที่สำคัญคือ


1. ปกป้องเซลล์เยื่อบุและเนื้อเยื่อที่มีไขมัน รวมทั้งซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดกับเซลล์เยื่อบุ (ในระบบทางเดินหายใจและตา) โดยมลพิษและควันบุหรี่


2. ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน จากการวิจัยพบว่าวิตามินเอช่วยให้เม็ดเลือดขาวโมโนไซท์ (monocyte)ต่อสู้กับการติดเชื้อได้ดีขึ้น  และส่งเสริมการผลิต

ทีเซลล์(T-cells) ซึ่งเป็นเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน


3. วิตามินเอ ที่ได้จากอาหารที่มีเส้นใยช่วยลดการเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ เมลาโนมา (melanoma, มะเร็งของเซลล์สีผิวหนัง)และมะเร็งเต้านม


4. ที่เกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือด วิตามินเอช่วยทำให้เซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือด (endothelium)แข็งแรง ป้องกันแอลดีแอลที่ถูกออกซเดชัน(oxidized LDL)ไม่ให้เกาะผนังหลอดเลือด หยุดยั้งการเกิดคราบของภาวะหลอดเลือดแข็ง ช่วยทำให้ชั้นกล้ามเนื้อของผนังหลอดเลือดอ่อนนุ่ม ยืดหยุ่น วิตามินเอช่วยป้องกันหลอดเลือดแข็งได้ดีในผู้สูบุหรี่


แหล่งวิตามินเอ


วิตามินเอมี 2 รูปแบบพื้นฐาน คือ เรตินอลและแคโรตินอยด์ (retinol and carotenoid) เรตินอลมีชื่อเรียกว่า "performed" vitamin A เพราะมีในอาหารที่มาจากสัตว์ ร่างกายนำไปใช้ได้ทันที เช่น ในน้ำมันตับปลา (cod-liver oil) ตับ ไข่แดง และนมเนย ส่วนแคโรตินอยด์ โดยเฉพาะ เบตา-แคโรทีน(beta-carotene) มีชื่อว่าโพรวิตามิน "provitamin" ซึ่งจะถูกเปลี่ยนที่ตับให้เป็นวิตามินเอ พบในอาหารที่มาจากพืชใบสีเขียวเข้ม :สไปแน๊ด บรอคโคลี ผักสีเหลือง-ส้ม :แครอท แคนตาลูป พีช มะละกอ ฟักทองและผักสีแดง: มะเขือเทศ บีท (beets)รูปแบบของวิตามินเอ ทั้ง2อย่างนี้มีข้อแตกต่างกันมากคือ เราสามารถรับประทานอาหารที่มีเบตา-แคโรทีนมากโดยไม่มีอันตราย  ผิวหนังอาจจะเหลืองขึ้น แต่ถ้ารับประทานเรตินอลในปริมาณมาก  จะเป็นพิษเพราะมันละลายในไขมันจึงไปสะสมไว้  ฉะนั้น เบตา-แคโรตีนจึงดีกว่าแคโรตินอยด์อื่นคือ อัลฟาและแกมมา แคโรตีน(alpha-and gamma-carotene),ลูเตอิน (lutein)และไลโคปีน (lycopene)


ขนาดของวิตามินเอเนื่องจากการได้รับวิตามินเอจากพืชผักผลไม้ในรูปแบบของเบตา-แคโรตีนมีผลดีกว่า ไม่มีผลข้างเคียง จึงไม่แนะนำให้ใช้ในรูปแบบของเรตินอล


วิตามินบี


วิตามินที่จัดอยู่ในกลุ่มวิตามินบี มีประมาณ 10กว่าชนิด รวมเรียกว่า วิตามินบีรวม ( vitamin B complex)โดยทั่วไปไม่ถือว่า วิตามินบีเป็นแอนติออกซิแดนท์ แต่ในการศึกษาระยะหลังนี้พบว่าอย่างน้อยมีวิตามินบี 2ตัวคือ กรดโฟลิคและกรดแพนโตเธนิค(folic acid and pantothenic acid) มีคุณสมบัติเป็นแอนติออกซิแดนท์ แต่วิตามินบีตัวอื่น ก็มีความสำคัญในการทำให้ระบบชีวเคมีฟิสิกส์ของร่างกายทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ ก่อให้เกิดสุขภาพ จะกล่าวถึงวิตามินบีตัวอื่นที่สำคัญไว้ด้วย


วิตามินบีที่สำคัญ4 ตัว คือ กรดโฟลิค วิตามินบี 3,6 และ 12 ช่วยป้องกันและฟื้นคืนสภาพของภาวะหลอดเลือดแข็งอย่างมีประสิทธิภาพสูง


กรดโฟลิค, โฟเลท(Folic acid ,Folate)


โฟเลทถือว่าเป็นอาหารของสมอง เป็นสารจำเป็นในการสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรง ช่วยให้การสร้างและการทำหน้าที่ของเม็ดเลือดขาวได้เหมาะสม เพราะโฟเลททำหน้าที่เป็นตัวช่วยเอนไซม์ในการสังเคราะห์ ดีเอนเอ และ อาร์​เอนเอ โดยมีความสำคัญ ที่ทำให้การแบ่งตัวและการสร้างขึ้นมาใหม่ได้ดี เป็นการช่วยเมตาโบลิซึมของโปรตีนด้วย



โฟเลทที่มีความสำคัญมากในการควบคุมระดับของโฮโมซิสเตอีน (homocystein)ซึ่งเป็นกรดอะมิโนตัวหนึ่ง ที่เกิดตามธรรมชาติในร่างกายจากการแตกตัวของกรดอะมิโน เมไธโอนีน (methionine)ระดับโฮโมซิสเตอีนในเลือดที่สูงขึ้น พบว่า เพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดแข็ง ปกติแล้ว โฮโมซิสเตอีนจะถูกเปลี่ยนเป็นกรดอะมิโนตัวอื่นที่ไม่มีอันตราย ในการนี้ ร่างกายต้องการปริมาณโฟเลท วิตามิบบี-6 และ บี-12 ที่เหมาะสม ระดับ โฮโมซิสเตอีน ในเม็ดเลือดแดงนั้น สัมพันธ์โดยตรงกับระดับของวิตามินบีทั้ง3ตัวนี้ ถ้า3ตัวนี้มีระดับต่ำ โฮโมซิสเตอีนก็จะสูง   นอกจากนี้ กรดโฟลิคช่วยให้หลอดเลือดคลายจากการบีบตัว และส่งเสริมการทำปฏิกิริยาของไนตริคออกไซด์ (nitric oxide) ซึ่งไปลดการเกิดออกซิเดชันของ แอลดีแอลคอเลสเตอรอล (LDL cholesterol)



จากการวิจัยต่างๆ พบว่าโฟเลทช่วยในการต่อสู้มะเร็งในบทบาทของ แอนติออกซิแดนท์ ได้ผลดีในการป้องกันและช่วยในการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งรังไข่ และมะเร็งตับอ่อน เป็นต้น โฟเลทมีความสำคัญสำหรับทารกในครรภ์ช่วยให้ระบบประสาทเจริญได้ดี  ป้องกันความพิการ เช่นเกิดช่องโหว่ที่กระดูกสันหลัง (spina bifida)หรือไม่มีศรีษะ (anencephaly)ได้ ลิ้นแดงเจ็บ เป็นอาการของการขาดโฟเลท รวมทั้งอาการอื่นๆ เช่น เลือดจาง อ่อนเพลีย ย่อยอาหารได้ไม่ดี นอนไม่หลับ ความจำเสื่อม ทารกพิการแต่กำเนิด ข้อควรระวัง หากไม่รับประทานผักสด-ผลไม้เพียงพอ อาจขาดโฟเลทได้ เพราะการหุงต้มทำลายโฟเลท


แหล่งวิตามินโฟเลท: แอสปารากัส บาร์เลย์ เนื้อวัว บริวเวอร์ยีสต์(brewer yeast) ข้าวกล้อง เนย ไก่ ผักสีเขียว ถั่ว นม เห็ด ส้ม เนื้อหมู ปลา จมูกข้าวสาลี

ขนาดที่แนะนำ1-5มก/วัน



วิตามินบี1(Thiamine)


เป็นที่รู้กันดีว่า การขาดวิตามิน บี1 ทำให้เกิดโรคเหน็บชา (beriberi)และบำบัดง่ายๆด้วยการรับประทานข้าวกล้อง (ข้าวไม่ขัดผิว)ความรู้ว่าข้าวกล้องมีประโยชน์นั้นมีมานานแล้ว แต่กว่าจะนิยมบริโภคกันก็เมื่อไม่นานมานี้เอง


วิตามินบี1 ทำหน้าที่หลายอย่าง: ช่วยในการสันดาป ของคาร์โบไฮเดรตช่วยการสร้างเม็ดเลือด ช่วยการผลิตกรดไฮโดรคลอริคในกระเพราะ ช่วยให้เจริญอาหาร ช่วยให้สมองทำหน้าที่ได้ดี ทำให้กล้ามเนื้อต่างๆ ทำงานได้ดี ช่วยในการเติบโตในเด็ก ช่วยเพิ่มพละกำลัง ช่วยให้ระบบประสาททำงานได้ดี ช่วยป้องกันร่างกายจากการเสื่อมสภาพ การดื่มแอลกอฮอร์ และการสูบบุหรี่


การขาดวิตามินบี1 ทำให้เกิดโรคเหน็บชา นอกจากนี้ทำให้เกิดอาการท้องผูก บวม ตับโต อ่อนเพลีย ความจำเสื่อม รบกวนระบบทางเดินอาหาร หัวใจทำงานได้ไม่ดี เบื่ออาหาร ชาตามมือเท้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง น้ำหนักลด


แหล่งวิตามินบี1: ข้าวไม่ขัดผิว ไข่แดง ปลา ถั่ว ถั่วฝัก เนื้อสัตว์ รำข้าวชนิดต่างๆ ผักผลไม้-สมุนไพรหลายชนิด ฯลฯ

ขนาดที่แนะนำ 20-30มก./วัน



วิตามินบี2(Riboflavin)


ไรโบฟลสวิน หรือวิตามินบี2 ทำหน้าที่หลายอย่างคือช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยผลิตแอนติบอดี ช่วยการแลกเปลี่ยนออกซิเจนของเซลล์ ช่วยป้องกันและรักษาต้อกระจก ช่วยในการสันดาปของไขมัน โปรตีนและคาร์ไฮเดรต ร่วมกับวิตามินเอทำให้เยื่อบุผนังทางเดินอาหารแข็งแรง ช่วยให้ผิวหนัง เล็บ และผมใช้ออกซิเจนได้ดี ขจัดรังแค ช่วยในการดูดซึมเหล็กและวิตามินบี6 ช่วยในการสันดาปของทริปโตแฟน(trytophan)ซึ่งจะถูกเปลี่ยนไปเป็นไนอาซิน (niacin) ในร่างกาย


การขาดวิตามินบี2ทำให้เกิดอาการแผลแตก เจ็บมุมปาก การอักเสบของลิ้นและปากหรือผิวหนัง(เป็นกลุ่มอาการเรียก ariboflavinosis)การขาด วิตามินบี2อาจทำให้เกิดผิวหนังอักเสบ มึนงง อาหารย่อยไม่ดี เด็กเติบโตช้า


แหล่งวิตามินบี2: เนย ไข่แดง ถั่วฝัก เนื้อสัตว์ นม สไปแนค ข้าวไม่ขัดผิวผิว โยเกิร์ต อโวคาโด บรอคโคลี ผักสีเขียว โสม ฯลฯ

ขนาดที่แนะนำ 25-50มก./วัน



วิตามินบี5 (Pantothenic acid)


วิตามินบี5 ได้ชื่อว่าวิตามินต้านความเครียด เป็นวิตามินที่มีส่วนในการสังเคราะห์ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต (adrenal)และสร้างแอนติบอดีช่วยเปลี่ยนไขมัน คาร์โบไฮเดรตและโปรตีนไปเป็นพลังงาน เซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายจำเป็นต้องมีวิตามิน บี5 จึงพบมากในอวัยวะต่างๆ ช่วยในการผลิตสารสื่อสารทางประสาท (neurotransmittters)และเป็นองค์ประกอบสำคัญคือ โคเอนไซม์ (co-enzymes)ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสันดาปต่างๆ ช่วยทำให้มีชีวิตชีวา


กรดแพนโตเธนิค หรือ วิตามินบี5 มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันเซลล์จากไลปิดเพอร๊อคซิเดชั่น (lipid peroxidation)ป้องกันไมโตคอนเดรียของเซลล์จากรังสีอัตราไวโอเลต ช่วยเพิ่มระดับกลูตาไธโอนและโคเอนไซม์ ซึ่งทำหน้าที่เซลล์ซ่อมแซมไขมัน


การขาดวิตามินบี5 ทำให้มีอาการอ่อนเพลีย ปวดหัว คลื่นไส้ ชาคัน (tingling)ที่มือ วิตามินบี5 มีความจำเป็นในการทำหน้าที่ปกติของต่อมหมวกไต


แหล่งวิตามินบี5: เนื้อวัว บริวเวอร์ยีสต์ ไข่แดง ไต ผักสด ถั่วฝัก เห็ด เนื้อหมู ปลาน้ำเค็ม ข้าวสาลีไม่ขัดผิว

ขนาดที่แนะนำ 80-200 มก./วัน


วิตามินบี3(Niacin, Nicotinic acid, Niacinamide)


เราอาจเคยได้ยินหรือเห็นรูปเด็กที่ขาดอาหารมีผิวหนังดำแตกกร้าน ที่เรียกว่า เพลลากร้า (pellagra)เป็นเพราะขาดไนอาซิน บ้านเราไม่ค่อยพบ วิตามินบี3 มีความสำคัญทำให้ผิวหนังมีสุขภาพดี มีเลือดไหลเวียนดี ช่วยให้ระบบประสาททำหน้าที่ได้ดี ช่วยในการสันดาปของคาร์ไฮเดรตไขมันและโปรตีน ช่วยในการผลิตกรดไฮโดรคลอริคเพื่อย่อยอาหาร การหลั่งของน้ำดี ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด


การขาดวิตามินบี3ทำให้เกิดโรคเพลลากร้า แผลตามผิวหนัง ซึมเศร้า ท้องเดิน มึนงง อ่อนเพลีย อาหารไม่ย่อย นอนไม่หลับ ไม่เจริญอาหาร กล้ามเนื้ออ่อนแรง


แหล่งวิตามินบี3: ตับวัว บริวเวอร์ยีสต์ บรอคโคลี แครอท เนย แป้ง ข้าวโพด ไข่ ปลา นม ถั่วลิสง เนื้อหมู มันเทศ มะเขือเทศ จมูกข้าวสาลี ในพืชสมุนไพร เช่น โรสฮิพ

ขนาดที่แนะนำ 80-200มก./วัน



วิตามินบี6(Pyridoxine)


วิตามินบี6หรือ ไพริดอกซิน มีส่วนช่วยให้ร่างกายทำหน้าที่มากที่สุดทั้งสุขภาพกายและจิต มีความจำเป็นในการผลิตกรดไฮโดรคลอริคและการดูดซึมไขมัน และโปรตีน ช่วยในการรักษาสมดุลของโซเดียมและโปแตสเซียม ส่งเสริมการสร้างเม็ดเลือดแดง ระบบประสาทต้องการวิตามินบี6 เพื่อทำหน้าที่ปกติ จำเป็นในการผลิตกรดนิวคลีอิก ซึ่งเป็นองค์ประกอบของ อาร์เอนเอ และ ดีเอนเอ ซึ่งมีข้อมูลคำสั่งทางพันธุกรรม เพื่อสืบต่อเซลล์ที่ผลิตขึ้นมาใหม่ และการเจริญของเซลล์   ช่วยกระตุ้นเอนไซม์หลายชนิด ช่วยในการดูดซึมวิตามินบี12 ช่วยในระบบภูมิคุ้มกันและการสร้างแอนติบอดี ช่วยในการป้องกันภาวะหลอดเลือดแข็ง ช่วยขัดขวางการจับโฮโมซิสเตอีนซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง ไพริดอกซีนมีฤทธิ์ขับปัสสาวะอย่างอ่อนๆ ช่วยลดอาการก่อนมีประจำเดือน อาจช่วยป้องกันการเกิดนิ่วของไต (oxalate stone)


การขาดวิตามินบี6 ทำให้เกิดโลหิตจาง ชัก ปวดหัว คลื่นไส้ เจ็บลิ้น และอาเจียน เกิดสิว เบื่ออาหาร ตาอักเสบ ริมฝีปากและปากแตก-เจ็บ ซึมเศร้า อ่อนเพลีย แผลหายช้า ปากเหงือกอักเสบ ความจำเสื่อม ผมร่วง


แหล่งวิตามินบี6: บริวเวอร์ยีสต์ แครอท ไก่ ไข่ ปลา เนื้อ ถั่ว เมล็ดทานตะวัน วอลนัท จมูกข้าวสาลี อโวคาโด กล้วย บรอคโคลี ข้าวกล้อง กะหล่ำปลี ข้าวโพด

ขนาดที่แนะนำ25-50มก./วัน



วิตามินบี12(Cyanocobalamin)


วิตามินบี12 มีประโยขน์สำคัญในการป้องกันโลหิตจาง เป็นตัวช่วยกรดโฟลิคในการสร้างเม็ดเลือดแดง และช่วยในการใช้ธาตุเหล็ก วิตามินบี12 ช่วยทำให้การย่อยอาหารและการดูดซึมสารอาหารได้ปกติ


ช่วยในการสังเคราะห์โปรตีน และเมตาโบลิสซึมของคาร์โบไฮเดรตและไขมัน ช่วยในการสร้างเซลล์และทำให้เซลล์มีอายุยืน  วิตามิน บี12 สัมพันธ์กับการผลิตอะซิติลโคลีน (acetylcholine)ซึ่งเป็นสารสื่อสารทางประสาทที่ช่วยความจำและการเรียนรู้ การได้รับวิตามินบี12 เสริมช่วยให้การนอนหลับดี


การขาดวิตามินบี12 ทำให้การดูดซึมอาหารได้ไม่ดี เสียมวลกระดูก อ่อนเพลีย ท้องผูก ซึมเศร้า อาหารไม่ย่อย มึนงง ตับโต ปวดหัว ลิ้นอักเสบ ความจำเสื่อม เกิดโลหิตจาง (pernicious anemia)


แหล่งวิตามินบี12: พบมากในบริวเวอร์ยีสต์ ปู ไข่ ปลาเฮอริงและปลาโอ นม สัตว์น้ำเค็ม วิตามินบี12 พบได้ในพืชน้ำเค็ม ถั่วเหลือง ถั่วหมัก เต้าเจี้ยว เทมเป้ และ อัลฟาฟา   ส่วนใหญ่แล้ววิตามิน บี12 พบในสัตว์ ฉะนั้นผู้รับประทานอาหารมังสวิรัติหากคิดว่าได้รับไม่พอควรรับวิตามินบี12เสริม

ขนาดที่แนะนำ 100-250ไมโคกรัม (mcg)/วัน



ไบโอติน(Biotin)


โอตินช่วยในการเมตาโบลิซึมของคาร์โบไฮเดรตโปรตีนและไขมัน และช่วยในการใช้วิตามินบีตัวอื่น ช่วยให้เซลล์เติบโต ปริมาณที่พอดีช่วยให้ผมและผิวหนังมีสุขภาพดี ช่วยส่งเสริมสุขภาพของต่อมเหงื่อ เนื้อเยื่อระบบประสาทและไขกระดูก ขนาด 10 มก. ต่อวันอาจช่วยให้ผมหยุดร่วงในชายบางคน


ในทารกการขาดไบโอตินทำให้เกิดผิวหนังอักเสบ(seborrheric dermatitis) ส่วนในผู้ใหญ่มักไม่ขาดเพราะสามารถผลิตได้ในลำใส้จากอาหาร แต่ เมื่อขาดทำให้เกิดโลหิตจาง ซึมเศร้า ผมร่วง น้ำตาลในเลือดสูง ผิวหนังและเยื่อบุอักเสบ นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ปวดกล้ามเนื้อ เจ็บลิ้น


แหล่งไบโอติน:บริวเวอร์ยีสต์ ไข่แดง เนื้อ นม เนื้อเป็ดไก่ ปลา น้ำเค็ม ถั่วเหลือง ข้าวไม่ขัดผิว อาหารเหล่านี้ช่วยให้ร่างกายผลิตไบโอตินได้

ขนาดที่แนะนำ300-1000ไมโครกรัม (mcg)/วัน



วิตามินซี(กรดแอสคอร์บิค,Ascorbic acid)


วิตามินซี เป็นวิตามินที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก มีประวัติที่น่าสนใจ เมื่อประมาณ 200ปีกว่า แพทย์ชาวอังกฤษพบว่ากะลาสีเรือที่เดินท่งไปในทะเลเป็นเวลานานแล้วเกิดโรคเลือดออกตามไรฟัน (scurvy)นั้น สามารถป้องกันและรักษาให้หายโดยรับประทานผลไม้รสเปรี้ยว (citrus fruits)เช่นมะนาว และส้ม ยังผลให้โรคนี้มีอุบัติการณ์ลดลงเกือบหมด จนกระทั่งเมื่อปี 1928 จึงมีการค้นพบสูตรทางเคมีของสารนี้ว่าเป็น กรดแอาคอร์บิค (Ascorbic acid)และได้ชื่อว่าวิตามินซี


คุณประโยชน์ของวิตามินซี


วิตามินซีมีหน้าที่หลากหลาย ในที่นี้จะกล่าวเน้นในฐานะที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ


1. วิตามินซีทำหน้าที่หลายอย่างที่มีประโยชน์ให้ร่างกายของเราช่วยทำให้เนื้อเยื่อมีสุขภาพสมบูรณ์ วิตามินซีมีความจำเป็นในการสร้างเนื้อเยื่อ คอลลาเจน (collagen) มีบทบาทสำคัญในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ รวมทั้งบำบัดรักษาเหงือก ทำให้เหงือกมีสภาพแข็งแรง-มีสุขภาพ ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยผลิตฮอร์โมนบางชนิด


2. วิตามินซีมีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ คือ ปกป้องไมโตคอนเดรีย ต่อการเกิด ออกซิเดชันเนื่องจากวิตามินซีละลายในน้ำ จึงลอยอยู่ในน้ำในเซลล์ ไปทำอนุมูลอิสระเป็นกลางก่อนที่มันจะไปถึงผนังของไมโตคอนเดรีย ทำให้ ไมโตคอนเดรียไม่ต้องเสียพลังงานในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ทำให้มีพลังงานสูงไว้ใช้เสริมสร้างเซลล์เท่ากับวิตามินซีช่วยสงวนพลังงานด้วย


3. หน้าที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของวิตามินซี คือ ทำหน้าที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ (ปริมาณ)ของสารต้านอนุมาณอิสระตัวอื่น คือ วิตามินอีและเบต้าแคโรตีน หรือสารอาหาร อื่นๆ อีก หลังจากถูกใช้ไปในการต้านอนุมูลอิสระ รายงานจากการศึกษาหลายรายงาน พบว่า หลังจากที่วิตามินอีได้ต่อสู้กับอนุมูลอิสระแล้ว มันจะสูญเสียอิเล็กตรอนไป1ตัว ทำให้ตัวมันกลายเป็นอนุมูลอิสระเสียเอง  ณ  จุดนี้ที่วิตามินซีเข้ามาช่วยฟื้นฟูสภาพ (regenerate) ให้วิตามินอีกลับไปอย่างเดิม  เมื่อเร็วๆนี้นักวิจัยพบว่า วิตามินอีสามารถทำให้วิตามินซีกลับฟื้นคืนสภาพได้เช่นกันเป็นการตอบแทน โดยปกติวิตามินซีจะทำการฟื้นคืนสภาพวิตามินอีตลอดเวลาจนกว่ามันจะหมดฉะนั้น หากเรารับประทานวิตามินซีอยู่เสมอ วิตามอนอีก็จะทำหน้าที่ได้ตลอดไป สารต้านอนุมูลอิสระที่ละลายในน้ำ (วิตามินซี) และสารต้านอนุมูลอิสระที่ละลายในไขมัน (วิตามินอี) ได้ทำงานเกื้อหนุนกัน ซึ่งมีค่ามากกว่าแต่ละตัวทำงานแยกกันต่างหาก


4. วิตามินซีทำหน้าที่พื้นฐานการต่อสู้กับมลภาวะในอากาศและน้ำที่รับเข้าสู่ร่างกายทำให้สารก่ออนุมูลอิสระเป็นกลาง พบว่าผู้สูบบุหรี่จะมีระดับวิตามินซีในตัวต่ำ ทั้งนี้เป็นเพราะวิตามินซีถูกใช้ไปเพื่อสลายสารเป็นพิษจากควันบุหรี่ ยังผลให้ภูมิคุ้มกันของผู้สูบบุหรี่ลดต่ำลง เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหลอดเลือด-หัวใจ และถุงลมพอง


5. วิตามินซี ช่วยต้านการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง จากรายงานเมื่อไม่นานมานี้ แสดงให้เห็นวิตามินซีไปลดจำนวนของอนุมูลซุปอร์ออกไซด์ (superoxide. radicals) ในหลอดเลือด ยังผลให้ปริมาณของออกซิไดส์แอลดีแอล (oxidized LDL cholesterol) ลดลง ซึ่งเป็นการยับยั้งการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งแต่ต้น


6. วิตามินซีสามารถป้องกันการเกิดมะเร็ง จากการศึกษาวิจัย พบว่าวิตามินซีสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งปอดและมะเร็งต่อมลูกหมากได้ดีลดการเสี่ยงลงมาก และยังสามารถยับยั้ง การแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งได้ด้วย จึงเป็นผลดีในการใช้ร่วมรักษามะเร็งทุกชนิด


7. วิตามินซีป้องกันต้อกระจก นักวิทยาศาสตร์ได้พบเมื่อเร็วๆนี้ว่า วิตามินซี ช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดต้อกระจกได้อย่างดี พบว่า ผู้ที่ได้วิตามินซีเสริมเป็นระยะเวลานาน10ปี หรือมากกว่า จะลดอุบัติการณ์ของต้อกระจกได้ถึง83%แสดงว่าการใช้ระยะยาวจะช่วยป้องกันหรือแม้แต่การฟื้นจากความชรา(reversal of aging)


แหล่งอาหารที่มีวิตามินซีคื ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว มะนาว ส้ม สับปะรด มะเขือเทศ ผัก มะม่วง มะละกอ สตรอเบอรี่ โรสฮิพ(rose hip)


ขนาดที่แนะนำสำหรับวิตามินซีคือ 500-2000 มก./วัน โดยแบ่งรับประทานหรือใช้นิดค่อยๆ ละลาย (slow release) เนื่องจากวิตามินซีละลายในน้ำการได้รับขนาดสูงเกินไปในครั้งเดียวก็จะถูกขจัดออกทางปัสสาวะควรใช้ชนิดที่เป็นวิตามินซีจากธรรมชาติ (natural or Bio C)ไม่ใช่สังเคราะห์และมีภาวะเป็นกรดน้อยหรือไม่เป็น(buffered)


วิตามินอี (โทโคเฟอรอลและโทโคตริอีนอล,Tocopherol and Tocotrienol)


วิตามินอีได้รับการยอมรับ เป็นวิตามินที่จำเป็น *essential vitamin)ตั้งแต่ปี 1968 วิ ตามินที่จำเป็นหมายควาว่า ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถผลิตขึ้นมาเองได้ ต้องได้รับจากอาหารหรือโภชนาการเสริม (nutritional supplements)เนื่องจากเป็นวิตามินที่ละลายในน้ำมัน ปริมาณที่มากเกินจะไม่ถูกขจัดออก แต่ถูกเก็บไว้ในไขมันในตัวเราเป็นเวลานานหลายวัน วิตามินอีไม่ใช่สารตัวเดียวแต่เป็นกลุ่มของสาร8ตัว แบ่งได้2กลุ่มคือ โทโคเฟอรอล และ โทโคตริอีนอล (Tocopherol and Tocotrienol) ตัวที่สำคัญและมีประสิมธิภาพมากสุดคือดี-อัลฟ่า โทโคเฟอรอล (d-alpha tocopherol )


วิตามินอี ที่ผลิตสู่ตลาดมี 2 รูปแบบคือจากธรรมชาติ โดยการสกัดจากน้ำมันพืชมีชื่อเรียก (d-alpha tocopherol ) และจากการสังเคราะห์จากสารปีโตรเคมี (petrochemicals) มีชื่อเรียก (d-alpha tocopherol)วิตามินอีจากธรรมชาติมีประสิทธิภาพมากกว่าชนิดสังเคราะห์เป็น2เท่าและเป็นชนิดที่ควรนำมาใช้


บทบาทของวิตามินอี


วิตามินอีมีคุณสมบัติ (ประโยชน์) แบ่งได้เป็น2กลุ่มคือ เป็นแอนติออกซิแดนท์และคุณมสมบัติทั่วไป


ก. คุณประโยชน์ทั่วไป


1.ช่วยในการสมานการบาดเจ็บ-สมานแผล ลดการเกิดแผลเป็น


2.ลดความดันโลหิต


3.ป้องกันโลหิตจาง


4.ช่วยในการแข็งตัวของเลือดให้ปกติ


5.ช่วยบำรุงส่งเสริมให้เส้นประสาท กล้ามเนื้อ ผิวหนังและเส้นผมให้มีสุขภาพดี


6.ช่วยป้องกันต้อกระจก


7.ช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกัน


8.ช่วยชะลอความชรา


9.ช่วยป้องกันและรักษาโรคพาร์คินสัน (Parkinson's disease)โรคอัลไซเมอร์(Alzheimer's disease)

บทบาทเหล่านี้ส่วนนี้น่าจะเกิดจากคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระด้วยนั่นเอง



ข. ทำหน้าที่ต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นบทบาทที่สำคัญของวิตามินอีโดยเฉพาะการขัดขวางภาวะหลอดเลือดแข็ง ทำหน้าที่ดังนี้


1.ป้องกันออกซิเดชันของไลโปโปรตีนในหลอดเลือด (ป้องกันการเกิดออกซิเดชันของแอลดีแอล)


2.หยุดการขยายคราบหลอดเลือดแข็ง และอาจทำให้ขนาดลดลง


3.การให้วิตามินอีเสริม จะลดอุบัติการณ์ของภาวะหลอดเลือดแข็ง


4.ช่วยลด ไตรกลีเซอไรด์ แฃะ แอลดีแอล คอเลสเตอรอล


5.จากการศึกษาในชุมชนพบว่า กลุ่มที่มีวิตามินอีสูงในเลือดสูงจะมีอุตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจต่ำ



ช่วยทำให้หัวใจถูกจู่โจมลดลง


มีข้อมูลที่น่าสนใจใคร่นำเสนอ คือโดยปกติ เมื่อเรารับประทานอาหารมื้อหนักที่มีไขมันสูง จะทำให้การไหลเวียนของเลือดลดลงนาน1-2ชั่วโมง อาหารไขมันสูงส่วนหนึ่งไปสังเคราะห์กรดอารัชขิโดนิค ส่งเสริมการสังเคราะห์"ไอโคซานอยด์ไม่ดี"ทำให้ผนังหลอดเลือดผลิตเอนไซม์ทรอมโบเซน เอ2 (thromboxane A2)มีผลทำกให้หลอดเลือดแดงบีบตัวและการจับตัวของเกร็ดเลือด เป็นผลให้เกิดหัวใจจู่โจม (heart attack)ได้ดังเรื่องที่เล่าขานในบ้านเราว่า เกิดหัวใจหยุดเต้นหลังกินอาหารมื้อหนัก แล้วตามด้วยข้าวเหนียวมะม่วง-เสียชีวิต แต่จากรายงานในสารสารของสมาคมแพทย์แห่งสหรัฐ (Journal ofvAmerican Association, JAMA 278 (1997) pp 1682-1686) แสดงว่าหากรับประทานวิตามินอีและซีก่อนรับประทานอาหารมื้อหนักจะป้องกันเหตุการณ์ข้างต้นได้ ทำให้อาหารมื้อหนักไขมันสูงมีค่าเท่าอาหารไขมันต่ำเมื่อรับประทานวิตามินอีและซีเป็นประจำ เหตุการณ์ร้ายเช่นนี้ จึงไม่น่าจะเกิดขึ้นได้


แหล่งวิตามินอี: ข้าวกล้อง ผักสีเขียว น้ำมันพืชชนิดต่าวๆ ถั่ว อัลมอนต์ ถั่วลิสง เม็ดมะม่วงหินมะพานต์ เมล็ดทานตะวัน ไข่ นม ช้าวโอ๊ต วีทเจิม

ขนาดที่แนะนำ 200-800IU/วัน



โค-คิว-10 (Coenzyme Q10, Co Q10, Ubiquinone)


โค-คิว-10 เป็นสารคล้ายวิตามิน มีโครงสร้างคล้ายวิตามิน ละลายในไขมันและทำหน้าที่เป็นตัวช่วยเอนไซม์ ที่มีอยู่ในกลุ่มเอนไซม์ หลายตัวของไมโตคอนเดรีย ที่ทำหน้าที่ในการผลิตเอทีพี (ATP, adenosine triphosphate) ซึ่งเปรียบเสมือนตัวก่อเกิดพลังงานให้เซลล์ ฉะนั้น เซลล์ที่ต้องทำงานมากหรือใช้พลังงานสูง เช่น เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac myocte) จึงต้องใช้ โค-คิว-10 มาก นอกจากนี้ โค-คิว-10 ยังทำหน้าที่เป็นแอนติออกซิแดนทฺ์ที่ทรงพลัง และทำหน้าที่อีกหลายอย่าง ช่วยทำให้การไหลของผนังเซลล์ (cell membrane fluidity)ดีขึ้น ลดความหนืดของเลือด (blood visxosity) เมื่อได้รับเสริม พบว่ากล้ามเนื้อหัวใจที่บีบตัวไม่ดีในภาวะหัวใจล้มเหลวนั้น สัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณการขาด โค-คิว-10 ทั้งในเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจ การได้รับ โค-คิว-10 จากภายนอกนั้น เซลล์ ที่ขาด โค-คิว-10 จะเข้าไปประกอบในไมโตคอนเดรียของเซลล์นั้น


เนื่องจากเป็นตัวช่วยให้เกิดพลังงานภายในเซลล์ โค-คิว-10 จึงมีประโยชน์มาก กล่าวได้ว่าเมื่อรับเป็นโภชนะเสริม ช่วยป้องกันและบำบัดเกือบจะทุกโรค:ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เพิ่มการไหลเวียนของเลือด มีผลต่อต้านการชะแก่ชรา ใช้ในการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว เลือดคั่ง มีประโยชน์ ในการรักษามะเร็ง ,เอดส์,โรคแพ้,เบาหวาน ฯลฯโดยรวมช่วยให้เซลล์ทุกชนิดทำหน้าที่เต็มที่จึงใช้ได้ในทุกกรณี โค-คิว-10 ใช้กันมากในญี่ปุ่นโดยแพทย์ให้กับผู้ป่วยมากกว่า12ล้านคน เพื่อรักษาโรคหัวใจ (กล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้ไม่ดี หัวใจล้มเหลว)ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง


แหล่ง โค-คิว-10 :ปลาโอ ปลาแซลมอน เนื้อวัว ถั่งลิสงและผักขม

ขนาดแนะนำ 30-100มก./วัน




ปัจจัยเกื้อหนุนอะไรบ้างที่ไปส่งเสริมให้อนุมูลอิสระถูกผลิ ตออกมามากขึ้น


1. ความเครียด


ความเครียดทางอารมณ์และกายทำให้อนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น ความเครียดเพียงเล็กน้อยคงไม่ทำให้เพิ่มมาก แต่ความเครียดมากมายถึงมีการตอบสนองทางอารมณ์มาก จะทำให้อนุมูลอิสระเพิ่มมากขึ้น ความเครียดทำให้มีการเผาผลาญพลังงานมาก อนุมูลอิสระจึงเกิดขึ้นมาก


2. มลพิษในอากาศ

เป็นภาวะที่เกิดมากในยุคปัจจุบัน มลภาวะในอากาศประกอบด้วยไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)โอโซน*(O3)โมเลกุลของไฮโดรคาร์บอน (hydrocarbon molecules) ต่างๆ ควันเขม่า ฝุ่นละเอียดคาร์บอนมอนน๊อคไซด์ (CO)ฯลฯ ทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระ


สารอันตรายในอากาศเหล่านี้เป็นผลผลิตก่อขึ้นโดยมนุษย์ :ควันจากท่อไอเสียรถยนต์  จากโรงงานอุตสาหกรรม  จากการเผาป่าไม้  จากการเผาขยะซึ่งมีขยะพลาสติกอยู่ด้วย



การใช้ยาฆ่าแมลง ฆ่าวัชพืชฉีดทำให้กระจายปนเปื้อนในอากาศ ทั้งนี้รวมทั้งการใช้สารเคมีในอุตสาหกรรมต่างๆ ทำให้แพร่กระจายไปในอากาศปัญหานี้เป็นปัญหาเรื้อรังเกิดขึ้นทั่วโลก  โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ที่มีควันเสียจากรถยนต์มาก และถ้าอยู่ใกล้ป่าที่มีการเผาทำลายจะยิ่งได้รับควันพิษ เหล่านี้มาก พบว่า เมืองที่มีการถ่ายเทอากาศไม่ดี เช่น เมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่ง มีเขาล้อมรอบ ในหน้าแล้งมีการเผาป่าและขยะ ไม่มีไม่มีลมพัดให้อากาศถ่ายเทเพียงพอ ปรากฏว่า  ปริมาณฝุ่นควันละเอียดจะสูงเกินมาตรฐานมาก สูงกว่ากรุงเทพฯ สถิติการเกิดมะเร็งปอดจึงสูงกว่าเมืองอื่นๆในประเทศไทย นี่อาจเป็นสาเหตุหนึ่ง มลภาวะในอากาศก่อให้เกิดโรค เช่น  หอบหืด แพ้อาาศ หลอดลมอักเสบ โรคหัวใจ และมะเร็ง เป็นต้น ฝุ่นละอองในอากาศที่ทำให้เกิดโรคเฉพาะอาชีพนั้นๆ (occupationtional disease)เช่น กรรมกร ที่ทำเหมืองแร่ แอสเบสตอส (asbestos )กรรมกรโรงงานอุตสาหกรรมได้รับสารเคมีต่างๆหลายชนิด ในกรณีแรกทำให้เกิดธรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอดได้    มลพิษเหล่านี้ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระ การหลีกเลี่ยงมลภาวะทางอากาศจะดีที่สุด     



3. ควันบุหรี่

เราอาจคิดว่ามลพิษในอากาศที่กล่าวมามีอันตรายมาก  แต่สำหรับผู้สูบบุหรี่แล้วควันบุหรี่ร้ายแรงยิ่งกว่า ดังที่ทราบกัน การสูบบุหรี่ทำให้เกิดถุงลมโป่งพอง โรคหอบหืด หลอดลมอักเสบโรคหลอดเลือดแข็ง และที่ร้ายแรงคือ มะเร็ง สารพิษที่มากับควันบุหรี่ คือนิโคติน น้ำมันดิน(coal tar)สารปนเปื้อนอื่นๆ: สารเคมี สารโลหะหนัก นอกจากนี้ ผู้ที่ไม่ได้สูบลเองแต่อยู่ในที่ผู้อื่นสูบเป็นประจำและห้องอับ ก็จะได้รับผลกรรมเช่นกัน เรียกหันว่า ผู้สูบบุหรี่มือสอง (seconf hand smoker) สารที่อยู่ในควันบุหรี่เหกล่านี้ ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระและเป็นพิษ การงดสูบบุหรี่จะดีที่สุด ผู้ที่ยังงดไม่ได้ การทานผัก-ผลไม้มากๆและการรับประทานวิตามินซี ปริมาณสูง1000-4000มก./วัน และแอนติออกซิแดนท์อื่นๆ จะช่วยได้



*สูบบุหรี่แต่ละมวนทำให้อายุสั้นลง8นาที


*สูบบุหรี่วันละซองทำให้อายุสั้นลงปีละหนึ่งเดือน


*สูบบุหรี่2ซองต่อวัน ทำให้อายุสั้นลง 12-15ปี



4.น้ำและอาหารที่ปนเปื้อน


จากการพัฒนาประเทศสู่อุตสาหกรรมและการเกษตรที่ใช้สารเคมีอย่างมาก สารเคมีต่างๆ ที่ใช้จะปนเปื้อนแทรกซึมสู่น้ำดื่ม แม้แต่น้ำฝนก็ปนเปื้อนเพราะสารเคมีเหล่านี้ปนเปื้อนอยู่ในอากาศ เมื่อมีฝนตกก็ปนเปื้อนเพราะสารเคมีเหล่านี้ปนเปื้อนอยุ่ในอากาศ เมื่อฝนตกลงมา ก็ฌจะชะล้างเอาสารเคมีปนเปื้อนไปด้วยเราไม่สามารถรู้ได้ว่าน้ำที่เราบริโภคนั้นสะอาดแค่ไหน หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีสารเคมีผลิตขึ้นมามากกว่าหกหมื่นชนิด ปีละประมาณ1000ชนิด :สารกำจัดวัชพืช สารกำจัดแมลง สารกำจัดเชื้อรา ที่ใช้ในการผลิตอาหาร  สารเคมีเหล่านี้รามทั้งโลหะหนัก เมื่อรับประทานเข้าไป ก่อให้เกิดการออกซิเดตีฟ สเตรส (oxidative stress)เป็นอันตรายมากต่อสุขภาพ สารเคมีเหล่านี้ช่วยให้อุตสาหกรรมผลิตอาหาร ผลิตได้จำนวนมหาศาล แต่ต้องแลกกับสุขภาพของประชาชน สำหรับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่ปรุงด้วยการปิ้ง ทอด เผา ทำให้บางส่วนไหม้เกรียม หรือเกิดควันติดค้างไปกับอาหาร หรือการทอดในน้ำมันซ้ำหลายๆครั้งเหล่านี้ก่อให้เกิดออกซิเดตีฟ สเตรส การรับประทานบ่อยครั้งจะมีอันตรายเพิ่ม ปัจจัยเสี่ยง จึงควรหลีกเลี่ยง การดื่มน้ำสะอาดจึงจำเป็นอย่างยิ่ง ผักต้องล้างให้ดีก่อนบริโภค ล้างในน้ำด่าง หรือล้างในน้ำยาผสมน้ำยาล้างผักจะช่วยได้



5.ยาและรังสี


ยาทุกชนิดที่เรารับประทานส่วนใหญ่คือสารเคมีและเป็นสารแปลกปลอม ซึ่งร่างการต้องย่อยสลายและขจัดออกไป จึงไปทำอันตรายต่อขบวนการย่อยสลายที่ตับและส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ เป็นการไปเพิ่มออกซิเดตีฟ สเตรส เพิ่มอนุมูลอิสระ ปัจจุบันทั่วโลกใช้ยาจำนวนมาก จำนวนหนึ่งเกิดผลข้างเคียงและทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต


รังสีซึ่งใช้ในการรักษาโรคมะเร็งนั้นมีคุณสมบัติทำให้มีการแตกตัวของไอออน (ion)ของธาตุที่เป็นองค์ประกอบของเนื้อเยื่อ-เซลล์(ionization)มีอันตรายทั้งต่อเซลล์มะเร็งและเซลล์ปกติที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งเป็นการทำให้เกิออกซิเดตีฟ สเตรส ต่อเซลล์-เกิดอนุมูลอิสระ นอกจากนี้เรายังใช้เอกเรย์และสารกัมมันตรังสีในการวินิจฉัยและรักษาโรค จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องป้องกันอย่างดี และไม่ใช้เกินความจำเป็น



6.รังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงอาทิตย์(Ultraviolet sunlight)


แสงอาทิตย์ที่มีประโยชน์มหาศาล เราต้องการแสงอาทิตย์เพื่อกระตุ้น วิตามินดี ซึ่งจำเป็นในการทำให้กระดูกและฟันมมีสุขภาพและช่วยป้องกันมะเร็ง  แต่ถ้าได้รับมากไป ก็จะเป็นอันตราย โดยเฉพาะคนผิวขาว สำหรับคนผิวสี  เช่นคนไทย เม็ดสีในผิวหนังเมลานิน(melanin)ช่วยป้องกันได้บ้าง เนื่องจากบรรยากาศระดับสูงมีโอโซน (ozone)ช่วยกั้นและลดปริมาณรังสอัลตราไวโอเลต ซึ่งถ้ามีปริมาณมากจะมีอันตรายเพราะจะไปลดภูมิคุ้มกันของเซลล์(cellular immunity)ลง ทำให้มีโอกาศติดเชื้อได้ง่าย ปัจจุบันชั้นโอโซนถูกทำลายไปมากบางลงและมีรูโหว่ ทั้งนี้เนื่องจากมีการใช้สารคลอโรฟลูโอคาร์บอน(choro-fluorocarbons)จากการใช้


7.โลหะเป็นพิษ (Toxic metals)


สารโลหะหนักนั้นปนเปื้อนดินและน้ำโดยทั่วจากการพัฒนาประเทศไปสู่อุตสาหกรรม ในประเทศไทยยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่ามีสารอะไร  มากน้อยแค่ไหน บริเวณไหนบ้าง แต่น่าจะคล้ายกับประเทศอื่นที่พบปริมาณโลหะหนักอยู่ในดินและน้ำ ได้แก่ ตะกั่ว ทองแดง โคบอลท์ ปรอท อะลูมิเนียมและแคดเมียมฯลฯ สารเหล่านี้ยังมีอยู่ในเครื่องสำอาง อุปกรณ์ทำครัว น้ำยาซักผ้านุ่ม สีบางชนิด พลาสติก ยาขัดมัน สารละลายและสารอุดฟัน (รุ่นเก่า)สารเหล่านี้มีพิษมากเพราะมันสะสมตกค้าวอยู่ในร่างกายเมื่อรับเข้าไปจะยึดติดกับเนื้อเยื่อ-อวัยวะจ่างกันไป เช่น ปรอทเข้าไปยึดกับเซลล์ประสาทส่วนกลาง อะลูมิเนียมที่เซลล์สมอง และอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease)ตะกั่วไปทำลายสมองทำให้ปัญญาต่ำเป็นโรคปัญญอ่อนและยังไปยึดที่กระดูกยับยั้งการเติบโต แคดเมียมจะไปแทนที่สะกะสีซึ่งมีประโยชน์และเก็บไว้ในร่างกายที่ตับและไตทำให้ปริมาณในร่างกายลดลง เป็นการไปกดภูมิคุ้มกัน แคดเมียมพบในควันบุหรี่ ปนเปื้อนในข้าว กาแฟ ชา เครื่องดื่มหลายชนิด สารกำจัดแมลง ในพลาสติก ดินและน้ำดื่ม เพื่อสุขภาพจึงควรระมัดระวังหลีกเลี่ยงไม่ให้ได้สา่รเหล่านี้ และมีอีกวิธีหนึ่งคือการได้รับประทานสารต้านอนุมูลอิสระจะชาวยต่อต้านสารโลหะได้ ซึ่งอาจถือว่าเป็นการป้องกันได้ ผู้เขียนขอ นำเสนอ (ในเบื้องต้น) สารต้านอนุมูลอิสระที่ทำหน้าที่ขจัดโลหะหนักแต่ละชนิดโดยย่อในตอนนี้ก่อน ดังนี้


✅ ซิสเตอีน(Cysteine)จะรวมกับทองแดงในเลือด และดึงโลหะหนักออกจากอวัยวะ


✅ ซีลีเนียม กลูตาไธโอน และเมไธโอนีน (selenium, glutathion &methionine)ช่วยสลายพิษจากโลหะ  วิตามินอีช่วยส่งเสริมซีรีเนียมในการสลายพิษ


✅ กระเทียมจะจับตัวกับโลหะพิษเพื่อขจัดออกจากร่างกาย


✅ แคลเซียมช่วยป้องกันการจับตัวของตะกั่วในร่างกาย


✅ วิตามินซีในขนาดสูงช่วยขจัดพิษและขับออกจากร่างกาย

 

✅ สังกะสีป้องกันการเพิ่มของแคดเมียม


8.การละเมิดกฎธรรมชาติ


การละเมิดกฏธรรมชาตินั้นเป็นข้อสรุปที่ปรจารย์ทางอายุรเวทได้ชี้ประเด็นที่เด่นชัดลงไปว่า เป็นสาเหตุเดียวที่ทำให้เสียสมดุล เสียสุขภาพและเกิดโรคตามมา การละเมิดกฏธรรมชาติทำให้ร่างกายเสียสมดุล ทำให้เกิดพิษและ/หรือ ไม่สามารถขจัดพิษออกได้ดีพอ เป็นการก่อให้ออกซเอตีฟ สเตรส-อนุมูลอิสระ



9.การออกกำลังกายมากเกิน (Excessive excercise) **ขอติดค้างเอาไว้ก่อนนะคะ แล้วจะนำมาลงต่อ


การออกกำลังกายเป็นดาบสองคม อย่าคิดว่าการออกกำลัะงกายอย่างเดียวนั้นเพียงพอที่จะป้องกันอนุมูลอิสระหรือมีสุขภาพได้ แต่ในทางตรงกันข้่าม การออกกำลังกายกลับไปเพิ่มระดับของอนุมูลอิสระได้เช่นกัน น.พ. เคนเปร์ ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแอโรบิคเอกเซอร์ไซส์(areobic exercise )และเวชศาสตร์ป้องกันได้เน้นว่า การออกกำลังกายมากรุนแรงเกินไปทำให้ร่างกายสร้างอนุมูลอิสระมากขึ้น เขาเป็นห่วงที่เห็นผู้คนออกกำลังกายมากเกิน (strenuous exercise)ได้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วยโรคหัวใจถูกจู่โจมิ ๕(heart attact) สโตรค(stroke) และมะเร็งดังที่มีข่าวนักวิ่งมาราธอนและดาราฟูตบอลเสียชีวิตขณะแข่งขัน ในหนังสือของเขา "The Antioxidant Revolution" กล่าวเตือนว่า การออกกำลังกายมากเกินนั้นเป็นผลร้ายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะเมื่อทำต่อเนื่องเป็นปีๆ ทำให้เป็นหวัดหรือเจ็บคอ-คออักเสบได้ง่าย ดังเราจะเห็นผู้ออกกำลังกายมาก เช่น วิ่างไกลนานๆ มีหน้าตาร่างกายอิดโรย "ดูแกร่งแต่หน้าและข้อแก่" พวกชอบวิ่งมาราธอนลงสนามแข่งขันนับครั้งไม่ถ้วนนั้นไม่ดีแน่ ควรออกกำลังกายพอประมาณ เขายังแนะนำให้รับแระทานแอนติออกซแดนท์เสริมโดยเฉพาะผู้ออกกำลังมาก (ที่จริงทุกคนควรรับประทานอยู่แล้ว)


ปัจจัยที่กล่าวมาทั้ง9ข้อนี้ เป็นอนุมูลอิสระหรือก่อให้เกิดอนุมูลอิสระและเป็นภาระที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำในโลกปัจจุบัน  การรับประทานแอนติออกซิแดนท์และอาหารที่มีแอนติออกซิแดนท์สูงจึงจำเป็น จะกล่าวต่อไป


🌹🌹เราก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสิ่งที่เราได้หามาลงให้ได้อ่านนี้จะมีประโยชน์กับคุณลูกค้ามากๆนะคะ เพราะในนี้จะมีวิธีป้องกัน และก็แนะนำได้ดีเยี่ยมมากๆ เราจึงตั้งใจคัดลอกมาให้ได้อ่านกับ🌹🌹


🌹🌹โลกจะน่าอยู่เมื่อมนุษย์เรารู้จักการให้อภัยและก็แบ่งปั🌹🌹